ประวัติความเป็นมาของ “ไทยย้อ” นั้นไม่มีหลักฐานทางเอกสารยืนยันแน่นอนได้ จะสามารถแต่เพียงสอบถามจากปากคำผู้เฒ่าผู้แก่ มีอายุ จดจำเรื่องราวสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุ โดยหลวงปู่เจ้าอาวาสรูปที่ 10 อายุ 92 ปี ท่านเล่าให้ฟังว่า เมื่อครั้งเป็นสามเณรน้อยอายุ 11 ปี หลวงปู่องค์ก่อนเคยอ่านบันทึกตราสารอักษรลาวน้อยใบข่อยโบราณได้ความว่าครั้งแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๓) ปี พ.ศ. 2381 หลวงปู่สิทธิชัย นาโคได้ชักชวนลูกหลานอพยพครอบครัว เกวียน ม้า โค กระบือ ข้ามมาจากเมืองมหาชัยกองแก้วฝั่งซ้ายประเทศลาว มาถึงบริเวณปัจจุบันนี้ มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์ป่านานาชนิด พืชพันธ์ ป่าไม้เบญจพันธ์ อุดมสมบูรณ์ พร้อมซากอิฐ หิน เสมาหิน ต้นโพธิ์ ต้นไทรใหญ่ ท่านจึงกำหนดเขตสร้างวัด ตั้งหมู่บ้านขึ้นเมื่อวันอังคารขึ้น 13 ค่ำเดือน 5 ปี 2381
พระยาประจันตะประเทศธานี (ราชวงศ์ดำ) เจ้าเมืองสกลทวาปี มาตรวจภูมิประเทศหัวเมืองตะวันตก เห็นว่ามีชุมชนหนาแน่นมีพืชไร่อุดมสมบูรณ์ จึงกราบเรียนหลวงปู่สิทธิชัย นาโค วัดสะพาฯศรี ขออนุฐาตแต่งตั้งท้าวบุญ เป็นราชบุตรสกลทวาปี ชื่อพระศรีบุญญานุรักษ์ มีหน้าที่ช่วยราชวงศ์ ดูแลควบคุมการเก็บรักษาผลประโยชน์ของเมืองและเป็นผู้เก็บเงินส่วย ข้าวเม่า ข้าวเปลือก น้ำอ้อย ขี้ผึ้ง ผลิตผลการเกษตร ส่งเจ้าพนักงานใหญ่ในหัวเมืองเอก หรือเมืองหลวง และยกชุมชนนี้ขึ้นเป็นเมืองพานคำ โดยถือเอาบริเวณหนองน้ำใหญ่ มีสัตว์ป่าหลายชนิด อาศัยอยู่โดยเฉพาะอีเก้ง (พานด่อนมีมากที่สุด) หนองฟานด่อนนี้เปรียบเหมือนสายโลหิตที่หล่อเลี้ยงชีวิตชุมชนแถบนี้ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบันโดยไม่เหือดแห้ง
พระศรีบุญญานุรักษ์ ได้ทนุบำรุงบูรณะสถูปเดิมที่มีก่อนอยู่แล้วให้สูงเพียงตาและได้ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม สถาปนากำหนดเขควัดมีชื่อว่า “วัดสะพานศรี” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ดังหลักฐานศิลาจารึก และเสมาหินโบราณที่ขุดพบในบริเวณวัด แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า วัตถุของมีค่าดังกล่าว หลวงปู่เจ้าอาวาสวัดรูปที่ 10 นั้น ได้นำบรรจุที่หลุมศิลาฤกษ์อุโบสถหลังปัจจุบัน เพราะความไม่รู้คุณค่าของโบราณวัตถุ
จากการเล่าขานสืบต่อกันมาเมืองพานคำ ได้เจริญรุ่งเรืองมานานเท่าไหร่ ไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่นอน ตาอาศัยลำดับผู้ปกครองชุมชน พอทราบได้ว่าประมาณปี 2405 ประวัติโรงเรียนบ้านพานสหราษฏร์บำรุง เป็นหลักฐานเมื่อปี 2488 ผู้ใหญ่ทิดบุญมี เจินเทินบุญได้เป็นผู้นำชาวบ้านพาน ถากลางบริเวณที่ตั้งโรงเรียน สร้างอาคารเรียนเสร็จแล้ว จึงย้ายจากวัดสะพานศรี มาอยู่ที่ปัจจุบันนี้
เมื่อประชากรเพิ่มมากขึ้นการดูแลสุขทุกข์ไม่ทั่วถึง ทางราชการจึงได้แบ่งเขตปกครองออกเป็น 2 หมู่ โดยถือเอาถนน สายสกลนคร – อุดรธานี เป็นการแบ่งเขตปกครองเพื่อสะดวกแก่การปกครอง และติดต่อราชการ โดยทิศใต้ ประมาณ 200 ครองครัวเป็นบ้านพานหมู่ 8 บ้านพานทิศเหนือประมาณ 140 ครองครัว เป็นบ้านพานพัฒนา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 เป็นต้นมาโดยสายเลือดวัฒนธรรมประเพณี ยังคงเดิมตั้งแต่อดีดจนถึงปัจจุบัน
วัดสะพานศรี มีโบราณวัตถุและของมีค่าที่สำคัญดังนี้
การทำปราสามผึ้งส่วนมากในภาคอีสาน นิยมทำกันมาแต่โบราณโดยมีเหตุผล หรือคติว่า
ปรากฏในหนังสือธรรมบทภาค 6 เรื่องยมกปาฏิหาริย์ ตอนพระพุทธเจ้าเสด็จจำพรรษาปีที่ 7 บทสวรรค์ดาวดึงส์ชั้นที่ 2 ประทับที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ทรงแสดงอภิธรรมปิฏกโปรดพระพุทธมารดาจนได้ดวงตาเห็นธรรม ครั้งถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งเป็นมหาปวารณาออกพรรษา พระพุทธเจ้าตรัสอำลาพระอินทร์ เพื่อเสด็จลงสู่เมืองมนุษย์ พระอินทร์จึงเนรมิตบันได 3 ชนิดได้แก่
โดยบันไดทั้ง 3 ตั้งอยู่ที่ประตูเมืองสังกัสสนครถิ่นมนุษย์หัวบันไดตั้งอยู่ที่ยอดเขาเนรุราช บนสวรรค์ดาวดึงส์ ก่อนเสด็จลงพระพุทธเจ้าประทับยืนบนยอดเขา สิเนรุราช ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ โดยทรงแลดูเบื้องบน ปรากฏว่ามีเนินเป็นอันเดียวกับพรหมโลก ทรงแลดูข้างล่างก็ปรากฏมีเนินเป็นอันเดียวกัน ตอนนี้เองพวกเทวดา มนุษย์ พรหม ครุฑ สัตว์นรก ต่างมองเห็นกันเหมือนอยู่เฉพาะหน้า พระพุทธเจ้าทรงเปล่งรัศมีไปทุกหนทุกแห่ง ทั้งหมดเกิดจิตใจเลื่อมใสปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าหมดทุกตน
ครั้นแล้วพระพุทธเจ้า ก็เสด็จลงทางบันไดแก้วมณีตรงกลาง ท้าวมหาพรหมกั้นเศวตฉัตร ท้าวสยามถือพัดวีชนี พวกเทวดาลงบันไดทองคำเบื้องขาว มีนักฟ้อน นักดนตรีติดตามพวกมหาพรหม ลงบันไดเงินเบื้องซ้าย มีมาตุลีเทพบุตร ถือดอกไม้ของหอมติดตาม ครั้งเสด็จถึงประตูเมืองสังกัสสนคร ประทับพระบาทเบื้องขาวก่อนและเรียกสถานที่นี้ว่า “อจลเจดีย์สถาน” สืบมาประทับดูรอบทิศ ครั้งที่สอง พวกเทวดา นาค ครุฑ สัตว์นคร ต่างก็ชื่นชม ในพระบารมีของพระพุทธเจ้า เกิดความเลื่อมใสในบุญกุศลอย่างยิ่ง
ตอนนี้เองจึงเกิดจินตนาการ มองเห็นปราสามวิมานสวยงามใคร่อยากไปอยู่จึงรู้ชัดว่าการที่จะไปอยู่ปราสามวิมานอันสวยงามนั้น จะต้องสร้างบุญกุศลประพฤติ ปฏิบัติอยู่ในหลักธรรมคำสอนรักษาศีล ทำบุญใส่บาตร ให้ทานสร้างปราสาทกองบุญขึ้น ในเมืองมนุษย์เสียก่อน จึงจะได้ไปจุติในเมืองสวรรค์ จากนั้น จึงพากันคิดสร้างสรรค์ ทำปราสามผึ้งให้มีรูปลักษณะคล้ายรูปปราสาท มีเสามีห้อง มีหน้าพรหม มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ บันไดมียอดมีบนฑปลวดลายวิจิตรสวยงามตามยุคตามสมัยสืบต่อกันมา จนถึงปัจจุบัน